วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


                                                               บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

            วัน/เดือน/ปี.24..มีนาคม..2558..ครั้งที่..10...เวลาเรียน..13.30-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

         การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการทำงานศิลปะผสม โดยนำเทคนิคการทำงานศิลปะประเภทต่างๆที่ได้เรียนมา มารวมทำเป็นผลงานศิลปะ 1 ชิ้น ,  ศิลปะใบไม้ เป็นการนำใบไม้ลักษณะต่างๆไปทับให้แห้ง แล้วนำมาทำงานศิลปะเป็นรูปหรือเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ และ ศิลปะเปเปอร์มาเช่

         ชิ้นที่ 1ศิลปะเปเปอร์มาเช่  ทำจากกระดาษทิชชู่ ทำได้หลายแบบ  คือ นำกระดาษทิชชู่ไปแช่น้ำให้ชุ่มแล้วบิดน้ำออก จากนั้นฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปชุบกับสีผสมอาหารสีต่างๆที่เตรียมไว้ จากนั้นบิดให้หมาดๆ แล้วเทกาวลง ขยำให้ทั่วกระดาษทิชชู่  จากนั้นจับดูว่าหนึบๆไหม ถ้าหนึบแสดงว่าใช้ได้
ต่อไปก็ลงมือทำ ร่างรูปไว้แล้วใช้ไม้จิ้มฟัม จิ้มๆๆที่รูป ใส่สีตามจินตนาการ

วิธีการเตรียม
วิธีการทำ

ชื่อผลงาน นกฮูกแสนรู้ ผีเสื้อแสนรัก

ผลงานเปเปอร์มาเช่

          ชิ้นที่ 2 ศิลปะผสม โดยนำเทคนิคการทำงานศิลปะประเภทต่างๆที่ได้เรียนมา ไม่ว่าจะเป็นการพับกระดาษ การใช้สีน้ำ การฉีกปะ อื่นๆ  มารวมทำเป็นผลงานศิลปะ 1 ชิ้น ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์





            ชิ้นที่ 3  ศิลปะใบไม้ เป็นการนำใบไม้ลักษณะต่างๆไปทับให้แห้ง แล้วนำมาทำงานศิลปะเป็นรูปหรือเรื่องราวต่างๆหรืออาจจะต่อเติมรูปร่างตามจินตนาการ




การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

  1. ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. ใช้ทำสื่อการสอนในการเรียน
  3. ใช้ในการจัดตกแต่งบอร์ด
  4. บูรณาการเข้ากับวิชาอื่น
  5. ใช้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาผลงานศิลปะของตนเองในอนาคต
  6. ไว้เป็นแบบในการทำงานศิลปะ
  7. นำไปเผยแพร่ให้ให้กับสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณครูอนุบาลท่านอื่น


การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. นำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาครบตามที่อาจารย์สั่ง
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  5. ทำกิจกรรมออกมาได้สวยงาม
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  7. มีความอดทนในการทำงานศิลปะแต่ละชิ้น
  8. มีน้ำใจในการเก็บกวาดห้องหลังทำกิจกรรมเสร็จ
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมาก
  4. เตรีมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะมาครบทุกกลุ่ม
  5. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. เป็นที่ปรึกษาในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  5. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  6. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ
  7. ขณะนักศึกษาทำงานศิลปะก็สนใจนักศึกษาเดินดูอยู่บ่อยๆ
  8. เข้าใจนักศึกษาขณะทำงาน
  9. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานศิลปะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


                                                           บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

            วัน/เดือน/ปี.17..มีนาคม..2558..ครั้งที่..9...เวลาเรียน..13.30-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

         การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการทำศิลปะ ประเภทสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้และจากแกนกระดาษทิชชู่ การทำโมบาย การร้อยสร้อยจากมักกะโรนี

  ชิ้นที่ 1 การร้อยสร้อยและกำไลจากเส้นมักกะโรนี  

ขั้นตอนการทำ
  1. เตรียมสีผสมอาหาร ผสมใส่น้ำ
  2. นำเส้นมักกะโรนีไปชุบสี  ไม่เกิน 10 วินาที
  3. ตากแดดไว้ให้แห้ง จากนั้นนำมาทำงานศิลปะได้







ชิ้นที่ 2 การประดิษฐ์จานกระดาษ นำกระดาษขนาดต่างๆมา ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ

  

           ชิ้นที่ 3 การทำโมบาย จากวัสดุเหลือใช้ นำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่มาประดับตกแต่งให้เป็นโมบายที่สวยงามตามจินตนาการ

     

             
            ชิ้นที่ 4 การประดิษฐ์จากแกนกระดาษทิชชู่  นำแกนกระดาษทิชชู่มาประดิษฐ์เป็นรูปหรือเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ



ชิ้นที่ 5  การประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  นำวัสดุเหลือใช้ต่างๆมาประดิษฐ์เป็นรูป
หรือเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำเทคนิคการย้อมสีมักกะโรนีไปสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. นำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  3. นำรูปแบบและเทคนิคการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ไปทำสื่อการสอน
  4. ใช้ในการเตรียมวัสดุเหลือใช้ เช่น แกนทิชชู่เพื่อนำไปใช้สอนวิชาศิลปะในอนาคต
  5. นำไปต่อยอดบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
  6. นำเทคนิคการทำงานศิลปะไปบอกหรือเผยแพร่ให้เพื่อนๆครู

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. มีความรับผิดชอบนำอุปกรณ์ที่อาจารย์สั่งมา 
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  5. มีความอดทนและความพยายาม
ประเมินเพื่อน
  1. แต่งกายเรียบร้อย
  2. มาเรียนตรงเวลา
  3. เตรียมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะมาพร้อม
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. เป็นที่ปรึกษาในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  5. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  6. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ
  7. ขณะนักศึกษาทำงานศิลปะก็สนใจนักศึกษาเดินดูอยู่บ่อยๆ
  8. เข้าใจนักศึกษาขณะทำงาน
  9. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานศิลปะ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอุนทินครั้งที่ 8


                                                          บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

            วัน/เดือน/ปี.10..มีนาคม..2558..ครั้งที่..8...เวลาเรียน..13.30-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

             การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนศิลปะเกี่ยวกับกระดาษ มี 10 ชนิดด้วยกันคือ การฉีก ปะ , การตัดปะ, ม้วนกระดาษ, เจาะกระดาษ, การพับกระดาษ, การพับพัด, การพับรูปต่างๆ, การพับรูปแบบต่างๆ, การขยำกระดาษ, การสานกระดาษ, การพับ วาดต่อเติม
            การฉีกกระดาษเป็นการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย การตัดกระดาษสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอีกกิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย การตัดกระดาษสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจะหัดตัดรูปเส้นตรงก่อน และกรรไกรก็ไม่ควรมีคม เพราะจะเป็นอันตรายกับเด็กและครูควรดูแลอย่างใกล้ชิด
        อุปกรณ์ในการทำงานศิลปะกระดาษมี กระดาษ A4 กระดาษสีต่างๆ กระดาษแก้ว กระดาษA4 แบบแข็ง ผลงานกระดาษ10 ชิ้นมีดังนี้

1. การฉีกปะ  ชื่อผลงาน ของขวัญ  วาดรูปโครงร่างใส่กระดาษ A4 จากนั้นก็ฉีกกระดาษสี สีต่างๆมาแปะรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ
 

2. การตัดปะ ชื่อผลงาน ความหวาน  วาดรูปโครงร่างใส่กระดาษ A4 จากนั้นก็ตัดกระดาษสี สีต่างๆมาแปะรูป ที่ร่างไว้ตามจินตนาการ


3. การม้วนกระดาษ ชื่อผลงาน มาลัยคล้องใจ ตัดกระดาษสีต่างๆ ให้มีขนาดรูปทรงที่เท่ากัน ประมาณ 30 แผ่น หรือแล้วแต่ขนาดคอของแต่ละคน จากนั้นม้วนแล้วทากาวไปเรื่อยๆจนหมดกระดาษที่ตัดไว้

4. การเจาะกระดาษ ชื่อผลงาน การ์ดลวดลาย นำกระดาษA4สีต่างๆ มาเจาะรูตามที่ต้องการ จากนั้นตกแต่งด้วยการถักด้วยไหมพรม หรือวาดภาพระบายสีและตกแต่งตามจินตนาการ




5. การพับกระดาษ ชื่อผลงาน ผึ้งสองพี่น้อง  เป็นการตัดกระดาษสีเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ ทำเป็น 2 ชั้น แล้วแปะใส่กระดาษ A4 ตามจินตนาการ



6. การพับพัด ชื่อผลงาน  นกยูงแสนสวย วาดรูปตามจินตนาการแล้วพับกระดาษสีต่างๆ พับไปกลับ ตามจินตนาการ แล้วแปะลงตรงที่เราต้องการให้เป็นรูปหรือลวดลายต่างๆ



7. การพับรูปต่างๆ ชื่อผลงาน ลูกหมูสองตัว ตัดกระดาษสีเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วพับตามแบบ
ตกแต่งให้สวยงาม


8. การขยำกระดาษ ชื่อผลงาน แตงโมหวานฉ่ำ  ใช้กระดาษA4 และกระดาษแก้วสีต่างๆตามที่ต้องการจะตกแต่งให้เป็นรูปอะไร 





9. การสานกระดาษ ชื่อผลงาน ของขวัญแสนพิเศษ ใช้กระดาษA4 วาดรูปร่างไว้ก่อน แล้วใช้กระดาษสีตัดแนวเส้นตรงขนาดที่เท่ากันตามจำนวนรูปที่เราต้องการสาน กรีดกระดาษA4 ตรงที่เราต้องการสาน จากนั้นตกแต่งให้สวยงาม



10. การวาดต่อเติม ชื่อผลงาน ใต้ท้องทะเล ตัดกระดาษสีเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้วพับตามแบบให้เป็นรูปปลาหมึก จากนั้นตกแต่งให้สวยงาม




การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

  1. นำเทคนิคและวิธีการพับกระดาษไปต่อยอดงานศิลปะให้เปนรูปต่างๆ
  2. นำไปใช้สอนวิชาศิลปะเกี่ยวกับกระดาษให้เด็กปฐมวัยในอนาคต
  3. นำรูปแบบงานศิลปะต่างๆไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือผู้ที่ยังไม่รู้
  4. นำเทคนิคการใช้กระดาษให้เป็นงานศิลปะในรูปแบบต่างๆไปบูรณาการต่อยอดในการทำงานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  5. ใช้ในการเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะให้เราพัฒนาความสามารถทางศิลปะให้มีมากขึ้น
  6. เก็บผลงานไว้ดูเบื่อนำไปใช้ในอนาคต
  7. นำไปเผยแพร่ให้ให้กับสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณครูอนุบาลท่านอื่น
  8. นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น
  9. รู้ประโยชน์กระดาษแต่ละชนิดว่าทำงานศิลปะได่แตกต่างกัน
  10. นำการพับกระดาษไปใช้ในสาขาวิชาอื่นๆ


การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. นำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาครบตามที่อาจารย์สั่ง
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  5. ทำกิจกรรมออกมาได้สวยงาม
  6. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง
  7. มีความอดทนในการทำงานศิลปะแต่ละชิ้น
  8. มีน้ำใจในการเก็บกวาดห้องหลังทำกิจกรรมเสร็จ


ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมาก
  4. เตรีมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะมาครบทุกกลุ่ม
  5. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. เป็นที่ปรึกษาในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  5. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  6. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ
  7. ขณะนักศึกษาทำงานศิลปะก็สนใจนักศึกษาเดินดูอยู่บ่อยๆ
  8. อารมณ์ดีมากค่ะมีมุขตลอดๆ 
  9. คอยเป็นกำลังใจในการทำงานศิลปะของนักศึกษา
  10. อยู่ดูผลงานของนักศึกษาจนถึงคนที่ทำเสร็จสุดท้าย

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


                                                            บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

            วัน/เดือน/ปี.3..มีนาคม..2558..ครั้งที่..7...เวลาเรียน..13.30-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้เป็นกิจกรรมปั้น และ การพิมพ์ภาพ

กิจกรรมการปั้นลูกชุบ
     
วัสดุอุปกรณ์ในการทำลูกชุบ

1. ถั่วซีกเลาะเปลือก 1/2 โล
2. นำ้ตาลทราย 1/2 โล
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
5. สีผสมอาหาร สีตามชอบ
6. โฟม แผ่นหนา เอามารองเวลาเสียบลูกชุบ
7. อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว หรือ หม้อไฟฟ้า หรือกระทะไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมปลักสามตา

8. จาน ถ้วยใส่สี

วิธีทำถั่ว
     ให้นำถั่วซีก ครึ่งกิโล ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 ชั่วโมง แล้วนำมาต้ม ใส่ถั่วลงไปในหม้อใส่น้ำต้มจนสุกให้ถั่วเละแล้วเทน้ำออกให้แห้งแล้วขยำถั่วให้ละเอียดแล้วใส่น้ำตาลทรายครึ่งกิโลเติมเกลือลงไป1/2 -1 ช้อนชา แล้วกวนบนเตาประมาณครึ่งชั่วโมงตักขึ้นมาดูแล้วลองปั้นถ้าถั่วแห้งปั้นได้ก็พอแต่ถ้ายังแหลวปั้นไม่ได้ให้กวนไปจนกว่าจะปั้นได้ เสร็จแล้วเอาลงมาพักให้เย็น หรือทิ้งให้เย็นแล้วนำมาปั้นได้เลย



ขั้นตอนการทำลูกชุบ

  1. เตรียมสีผสมอาหารผสมกับน้ำ
  2. ปั้นถั่วเหลืองที่เตรียมไว้เป็นรูปร่างต่างๆตามต้องการแล้วนำไปเสียบไม้
  3. ใช้พู่กันจุ่มสีแล้วทาถั่วเหลืองรูปต่างๆที่ปั้นไว้
  4. ตั้งน้ำแล้วเทผงวุ้นใส่ คนไปเรื่อยๆจนหมอวุ้นเป็นสีใสๆ
  5. นำลูกชุบที่ทาสีเรียบร้อยแล้วไปจุ่มวุ้น ลูกละสองครั้ง ห่างประมาณ 3 นาทีค่อยจุ่มครั้งที่ 2
  6. รอให้แห้งแกะไม้ออก แล้วนำมาใส่จานรับประทานได้

กิจกรรมการพิมพ์ภาพ




สีผสมอาหารหรือสีโปสเตอร์ใช้ในการทำงานศิลปะพิมพ์ภาพ

1. งานพิมพ์จากพืช ภาพทุ่งหญ้ากับผีเสื้อ
          เป็นการนำพืชผักสวนครัวชนิดต่างๆไปจุ่มกับสีผสมอาหารแล้วนำมาทาบใส่กระดาษปรู๊ฟ ให้เป็นเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ


               

2.  งานพิมพ์จากวัสดุหาง่าย ภาพลูกโป่งหรรษา
             เป็นกิจกรรมที่นำวัสดุที่หาง่ายมาทำงานศิลปะ เช่น แกนทิชชู่ ดินสอ เป็นต้น นำวัสดุไปจุ่มกับสีผสมอาหารแล้วนำมาทาบใส่กระดาษA4 ให้เป็นเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ

              

3. งานพิมพ์ภาพจากการแกะสลัก เช่น แกะสลักผักหรือผลไม้ ภาพบ้านแสนสบาย
            นำวัสดุที่แกะสลักเป็นรูปต่างๆไปจุ่มกับสีผสมอาหารแล้วนำมาทาบใส่กระดาษA4 ให้เป็นเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ


    4.  งานพิมพ์จากฟองน้ำ ภาพดอกไม้ผลิบาน
            ตัดฟองน้ำเป็นรูปทรงต่างๆ หรือเป็นแผ่นขนาดเดิมจากนั้นนำไปจุ่มกับสีผสมอาหารแล้วนำมาทาบใส่กระดาษA4 ให้เป็นเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ
                         


5. งานพิมพ์จากอวัยวะภายในร่างกาย ภาพอวบอิ่ม
           นำอวัยวะภายในร่างกายไปจุ่มกับสีโปสเเตอร์แล้วนำมาทาบใส่กระดาษA4 ให้เป็นเรื่องราวต่างๆตามจินตนาการ


    

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

  1. นำเทคนิคและวิธีการทำลูกชุบไปทำกินเองหรือนำไปเป็นอาชีพเสริม
  2. เพื่อให้รู้ประโยชน์ของวัสดุเหลือ
  3. นำไปใช้สอนวิชาศิลปะเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพให้เด็กปฐมวัยในอนาคต
  4. นำรูปแบบงานศิลปะต่างๆไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือผู้ที่ยังไม่รู้
  5. นำเทคนิคการใช้สีน้ำการพิมพฺภาพไปบูรณาการต่อยอดในการทำงานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  6. ใช้ในการเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะให้เราพัฒนาความสามารถทางศิลปะให้มีมากขึ้น
  7. เก็บผลงานไว้ดูเบื่อนำไปใช้ในอนาคต
  8. นำไปเผยแพร่ให้ให้กับสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณครูอนุบาลท่านอื่น
  9. นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. นำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาครบตามที่อาจารย์สั่ง
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  5. ทำกิจกรรมออกมาได้สวยงาม

ประเมินเพื่อน

  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมาก
  4. เตรีมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะมาครบทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์

  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. เป็นที่ปรึกษาในขณะทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  5. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  6. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ
  7. ขณะนักศึกษาทำงานศิลปะก็สนใจนักศึกษาเดินดูอยู่บ่อยๆ
  8. อารมณ์ดีมากค่ะมีมุขตลอดๆ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

                                                         
                                                           บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

         วัน/เดือน/ปี..17..กุมภาพันธ์..2558..ครั้งที่..6...เวลาเรียน..13.30-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
                     
                            การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง สีน้ำ มี 14  ชิ้น คือ การวาดภาพระบายสีด้วยสีน้ำ การหยดสี การเทสี การเป่าสี  การเป่าฟองสบู่ การกลิ้งสี การทับสี การพ่นสี การย้อมสี จุดสีสร้างภาพ การเพ้นก้อนหิน การระเลงสี การดึงเส้นด้ายชุบสี การสลัดสี  การใช้สีน้ำในการทำงานศิลปะง่ายและรวดเร็วแต่เลอะเทอะสำหรับเด็กครูต้องทำข้อตกลงก่อนการทำงานศิลปะด้วยสีน้ำ มีผ้ากันเปื้อนและปูพื้นด้วยหนังสือพิมพ์หรือกรพดาษก่อนลงมือทำ  ชิ้นงานทั้ง 14 ชิ้นมีภาพดังต่อไปนี้



     1.  การวาดภาพระบายสีด้วยสีน้ำ  เป็นการวาดภาพด้วยสีน้ำโดยลงสีเลยไม่มีการวาดภาพร่างไว้ก่อน

              

      2.  การหยดสี  ใช้กระดาษปอนด์โดยให้กระดาษชุ่มน้ำพอหมาดๆเพื่อที่จะเวลาหยุดสีน้ำ ให้สีกระจายเพื่อเกิดความสวยงาม

               

       3. การเทสี เป็นการหยดสีลงตามจินตนาการและตะแคงกระดาษ
เพื่อให้สีไหลไปตามทิศทางที่เราต้องการ

               














 
      4. การเป่าสีหยดสีลงในกระดาษตามจินตนาการและเป่าสีโดยใช้หลอดเป่า
ไปตามทิศทางที่เราต้องการตามจินตนาการที่เราอยากจะให้เป็นรูปหรือเรื่องราวอะไร

              

         5. การเป่าฟองสบู่ ใช้ถาดเพื่อใส่น้ำแล้วผสมกับสีอาหารและแชมพู เพื่อทำให้เกิดฟอง จากนั้นใช้หลอดเป่า เมื่อเกิดฟองขึ้นให้นำกระดาษไปทาบตรงฟองแล้วฟองก็จะติดกระดาษมา ทำไปเรื่องๆตามจินตนาการ

             
            

    6.  การกลิ้งสี  เป็นการหยดสีลงในกระดาษสีใดก็ได้ตามจินตนาการ โดยวางกระดาษไว้ในฝาลังหรือ อะไรก็ได้ที่เวลากลิ้งสี ลูกกลิ้งไม่วิ่งออกจากกระดาษ  จากนั้นใช้ลูกแก้วหรือวัตถุที่มีทรงกลงและมีน้ำหนักมากลิ้งสีตามจินตนาการ

                                                                                    
  
       7.  การทับสี พับกระดาษตามที่ต้องการหรือพับกลางหน้ากระดาษ จาากนั้นใช้สีหยุดลงไปในการะดาษตามจินตนาการที่จะให้เกิดรูปต่างๆ เมื่อหยดเสร็จก็กางกระดาษแล้วนำไปตากให้แห้ง
                  
       8. การสลัดสี เป็นการใช้แปลงสีฟันจุ่มสีแล้วก็ใช้มือถูๆตรงปลางแปลงให้สีกระเด็นมาที่กระดาษของเรา ใช้สีตามจินจนาการ

                            9. การย้อมสี  นำกระดาษทิชชู่ที่มีลักษณะม้วนใหญ่และหน้า พับตามจินตนาการล้วนำไปจุ่มใสถามสีที่เตรียมไว้ จุ่มสีตามจินตนาการ                                                      

  
10. จุดสีสร้างภาพ  ใช้กระดาษวาดรูป วาดรูปร่างตามจินตนาการแล้วลงสีโดยการCotton Buds จิ้มสีตามที่ต้องการแล้วนำไปจุดที่ภาพวาดที่ร่างไว้ให้สวยงาม

               


       11.การเพ้นก้อนหิน เลือกรูปทรงก้อนหินตามที่เราต้องการที่จะเพ้นเป็นรูปอะไร จากนั้นก็ใช้สีโปสเตอร์และพู่กันขนาดต่างๆวาดลวดตามที่เราต้องการตามจินตนาการ








   12. การระเลงสี เป็นการระเลงสีโดยการใช้แป้งมันและสีผสมอาหารเป็นส่วนในการระเลงสี คือ ตั้งน้ำในปริมาณที่พอเหมาะไม่ควรใส่เยอะเกินไป เพราะจะเหลวจนวาดรูปไม่ได้เวลาวาดแป้งก็จะไหลเข้าหากัน จากนั้นใส่แป้งมันลงไปคนให้เข้ากัน คนไปเรื่องๆจนเป็นน้ำใสๆ จากนั้นเดิมสีผสมอาหารลงไป แล้วเทลงกระดาษ ปาดแป้งออกให้พอเหมาะ จากนั้นวาดรูปตามจินตนาการแล้วรอให้แห้ง
   

                                                                                        
           


         13. การดึงเส้นด้ายชุบสี นำเส้นด้ายไปชุบกับสีแล้วนำมาวาดลงในกระดาษให้เป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ
             
                          


         14. การพ่นสี ทำแบบให้เป็นรูปหรืออักษรต่างๆตามจินตนาการ จากนั้นนำไปทาบลงกระดาษแล้วใช้สเปย์ที่มีสีต่างๆฉีดพ่นลงในกระดาษ จากนั้นก็นำแบบออก

             


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้


  1. นำไปใช้สอนวิชาศิลปะเกี่ยวกับสีน้ำให้เด็กปฐมวัยในอนาคต
  2. นำรูปแบบงานศิลปะต่างๆไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือผู้ที่ยังไม่รู้
  3. นำเทคนิคการใช้สีน้ำไปบูรณาการต่อยอดในการทำงานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  4. ใช้ในการเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะให้เราพัฒนาความสามารถทางศิลปะให้มีมากขึ้น
  5. สืบค้นประโยนช์และการใช้งานของสีเทียนนอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
  6. เก็บผลงานไว้ดูเบื่อนำไปใช้ในอนาคต
  7. นำไปเผยแพร่ให้ให้กับสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณครูอนุบาลท่านอื่น
  8. นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. นำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาครบตามที่อาจารย์สั่ง
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
  5. ทำกิจกรรมออกมาได้สวยงาม

ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมาก
  4. เตรีมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะมาครบทุกกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  5. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ
  6. ขณะนักศึกษาทำงานศิลปะก็สนใจนักศึกษาเดินดูอยู่บ่อยๆ
  7. อารมณ์ดีมากค่ะมีมุขตลอดๆๆ