วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


                                                               บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

         วัน/เดือน/ปี..10..กุมภาพันธ์..2558..ครั้งที่..5...เวลาเรียน..15.00-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

           การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการทำกิจกรรมศิลปะ ทั้งหมดด้วยกัน 10 ชิ้น ดังภาพ

  1. เป็นการนำกระดาษทรายแบบหยาบมาตัดให้เป็บรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ
  2. นำกระดาษ A4 ทราบรูปที่ตัดไว้แล้วใช้สีระบาย ตามรูปร่าง ภาพจะออกมาเป็นในลักษณะผิวขรุขระหากกระดาษทรายที่นำมาทำงานศิลปะมีความหยาบมากพอ 


         
3.   เป็นการวาดภาพตามจินตนาการโดยใช้สีเทียนวาดเลย ไม่ใช้ดินสอ และยางลบ
4.   เป็นการนำสีเทียน สีต่างๆลงพื้นตามจินตนาการที่เราอยากจะให้เป็นรูปหรือสีต่างๆ จากนั้นใช้สีโปสเตอร์สีดำ หรือ สีที่เข้มๆ ระบายสุดท้าย แล้วใช้อุปกรณ์ที่เป็นของแหลมวาดรูปตามจินตนาการ
          
             

5.   ภาพต่อเติมจากพื้นผิวต่างๆ นำกระดาษและสีไปทาบกับวัสดุหรือสิ่งของอะไรก็ได้ จากนั้นก็ใช้สีเทียนระบาย และต่อเติมเป็นรูปต่างๆตามจินจนาการ


6.   รวมสี นำสีเทียน 3 สี รวมกัน แล้วใช้วาดและระบาย เป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ ตามเฉดสีที่เราต้องการ

7.   วาดภาพด้วยสีเทียนตามจินตนาการ และระบายพื้นหลังด้วยสีน้ำ จะเห็นได้ว่าภาพจะมีความคมชัดและสีก็ไม่กลมกลือนกัน เพราะสีเทียนจะมีน้ำมันสีจึงไม่ไหนหรือกลืนเข้าหากัน
8.   ต่อเติมจากภาพที่ 7 แต่ภาพที่ 8 จะขี้กระดาษก่อนนำมาระบาย จะเห็นได้ว่ารอยยับของกระดาษ ทำให้มีลวดรวยพื้นหลังมากขึ้นและสวยขึ้น

           


 9.     การปั้นดินเหนียว เป็นสิ่งต่างๆตามจินตนาการ

                      

10.    เป็นการวาดภาพด้วยสีเทียนลงในผ้าดิบ จากนั้น ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองก่อนรีด เพื่อที่จะให้น้ำมันในสี ติดไปกิบหนังสือพิมพ์ จะเห็นได้ว่าก่อนรีดสีจะเข้มกว่าหลังรีด และสีส่วนหนึ่งก็ติดไปกับกระดาษหนังสือพิมพ์

                        

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้



  1. นำไปใช้สอนวิชาศิลปะกับเด็กปฐมวัยในอนาคต
  2. นำรูปแบบงานศิลปะต่างๆไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือผู้ที่ยังไม่รู้
  3. ใช้ในการเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะให้เราพัฒนาความสามารถทางศิลปะให้มีมากขึ้น
  4. สืบค้นประโยนช์และการใช้งานของสีเทียนนอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
  5. เก็บผลงานไว้ดูหรือสิ่งของอื่นนำไปปรับใช้
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. นำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาครบตามที่อาจารย์สั่ง
  4. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
  1. เข้าเรียนตรงเวลา
  2. แต่งกายเรียบร้อย
  3. ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องมาก
ประเมินอาจารย์
  1. เข้าสอนตรงเวลา
  2. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  3. ตั้งใจหาอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำ
  4. อำนวยความสะดวกได้ยอดเยื่ยม
  5. มีกิจกรรมศิลปะที่หลากหลายน่าสนใจ


วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4



                                                         บันทึกอนุทิน

                 วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

         วัน/เดือน/ปี..3,5..กุมภาพันธ์..2558..ครั้งที่..4...เวลาเรียน..15.00-17.30..... น


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้


   การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง  วัสดุ  อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ     วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป  เช่น  กระดาษ  สี  กาว เป็นต้น



วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย


      กระดาษ เป็นวัสดุที่นำมาทำงานศิลปะได้อย่างกว้างขวาง
 หาง่าย ราคาไม่แพง 


กระดาษมันปู


     
      กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี ้นื้อบาง เหมาะกับการทำงานศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ กระดาษ



กระดาษโปสเตอร์


      กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียวและสองหน้า สีสดใส
หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานสามมิติเป็นส่วนมาก


กระดาษวาดเขียน
  

     กระดาษวาดเขียน  มีความหนาไม่เท่ากัน เรียกกันเป็นปอนด์ 
60 ปอนด์ 80 ปอนด์ 100  ปอนด์   ใช้ได้กับงานวาดรูประบายสีทุกชนิด

กระดาษจากนิตยสาร












     กระดาษจากนิตยสาร  เหมาะกับการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อ หาง่าย ใช้แทนกระดาษมันปูได้








สีชอล์กเทียน (Oil pasteal)
เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าธรรมดา
เมื่อระบายสีแล้วสามารถใช้เล็บขุดออกได้
หรือใช้ทิดชู่ตกแต่ง


สีเทียน (Caryon) เป็นสีที่ผสมขี้ผึ้งแล้วทำเป็นแท่ง
 สีเทียนที่ดีควรมีสีที่สด
ไม่มีไขเทียนมากเกินไป
 สีเทียนที่มีราคาถูกจะมีขี้ผึ้งเยอะ

   
สีเมจิก (Water color) บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกา
เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น
หรือการเขียนตัวหนังสือไม่เหมาะสำหรับให้เด็กระบายสี
สีโปสเตอร์ (poster color) คือสีฝุ่นที่บรรจุขวดขาย
เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย
ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น




สีฝุ่น (Tempera) เป็นสีผง มีสีทึบแสง ผสมน้ำหรือกาว ราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น
     สีพลาสติก  (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้างราคาสูง มีเนื้อสีข้น มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสน้ำได้ ข้อเสียคือต้องจุ่มแปลงไว้ในน้ำตลอดเวลาเพราะสีแห้งเร็ว




     สีน้ำ (Water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหลผสมกลมกลืนง่าย
สามารถใช่ในส่วนที่เป็นลายละเอียดได้
 มีทั้งเป็นหลอดและเป็นก้อน






                       วัน/เดือน/ปี...5...กุมภาพันธ์..2558.เวลาเรียน....15.00-16.40..... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

           การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอผลงานศิลปะตามลวดลายต่างๆ


    


ภาพลายเส้น


ภาพลายจุดสิ่งไม่มีชีวิต



ภาพลายจุดสิ่งมีชีวิต

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็ก
  2. ใช้ในการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการทำงานศิลปะ
  3. ใช้สำหรับการเลือกซื้ออุปกรณ์ในการทำงานศิลปะให้คุ้มค่า
  4. ใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ยังไม่รู้
  5. ใช้สำหรับการเลือกประเภทสีให้เหมาะกับลักษณะงานศิลปะ
  6. เตรียมตัวเก็บกระดาษที่มีอยู่เพื่อใว้ใช้ทำงานศิลปะในอนาคต
  7. นำรูปแบบผลงานศิลปะไปสอนเด็กปฐมวัย
  8. นำลวดลายต่างๆไปสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ
  9. นำรูปแบบผลงานศิลปะไปใช้ในการจัดกิจกรรมในอนาคต
 
การประเมินการเรียนการสอน


ประเมินตนเอง

  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียบร้อย
  • ตั้งใจทำกิจกรรมศิลปะด้วยตนเองอย่างสวยงาม
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกระหว่างเรียน
  • ตั้งใจทำงานศิลปะทุกชิ้น
  • มีความรับผิดชอบในการทำงานศิลปะ

ประเมินเพื่อน

  • แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกหลังเรียน
  • ทุกคนทำงานศิลปะออกมาได้ดี สวยงาม
  • เพื่อนทุกคนมีความรับผิดชอบในการทำงาน

ประเมินอาจารย์

  • อาจารย์แต่งกายสุภาพ
  • เข้าสอนตรงต่อเวลาและปล่อยตรงเวลา
  • อธิบายในแต่ละหัวข้อการเรียนได้เข้าใจง่าย
  • อาจารย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาให้นักศึกษาทำ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


                                                                 บันทึกอนุทิน

                      วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                      อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

            วัน/เดือน/ปี....27..มกราคม..2558..ครั้งที่..3...เวลาเรียน....15.00-17.30..... น

    

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

                     การเรียนการสอนในวันนี้เรียนในเรื่อง หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญ

         ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น

-ประสบการณ์ด้านการสำรวจ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
-ประสบการณ์ด้านวัสดุ การใช้เครื่องมือต่างๆ
-ประสบการณ์ด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
    
         
          ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญกับความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ



จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

  • การสอนศิลปะไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
  • การสอนศิลปะเด็กเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม 
  • การสอนศิลปะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 
  1. ฝึกทักษะในการใช้มือและเตรียมความพร้อม
  2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์พัฒนาความสามารถของเด็กแต่ละคน
  3. พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
  4. ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ
  5. ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือทางศิลปะ
  6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
  7. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ สนุกสนาน
  8. นำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
บทบาทของครูศิลปะ

ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
  • เป็นผู้สร้างบรรยากาศ
  • เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน
  • เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน
  •  เป็นต้นแบบที่ดี
  •  เป็นผู้อำนวยความสะดวก            


ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

  1.  หลีกเลี่ยงการให้แบบหรือใช้สมุดระบายภาพ
  2.  ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก
  3. ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ
  4. ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน
  5. ไม่วิจารณ์ผลงานเด็ก
  6. มีส่วนช่วยในการช่วยผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
  7. มีส่วนช่วยในการขยายประสบการณ์ทางศิลปะ เช่น พาเด็กไปทัศนศึกษา
การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

  • สร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
  • จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • จัดวางอุปกรณ์ให้สะดวกต่อการใช้งาน
  • การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด
  • การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม
  • การจัดเก็บผลงาน การจัดสถานที่แสดงผลงาน

ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

  • ขั้นตอนการสอนศิลปะ
  1. เลือกเรื่องที่จะสอน
  2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
  3. เตรียมการก่อนสอ เตรียมแผนการสอน เตรียมอุปกรณ์การสอน
  4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์
  5. ทำการสอนจริงตามแผน
  6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือมำผลงาน เช่นแบ่งกลุ่ม
  7. การปฏิบัติงานของเด็กโดยครูดูแลคอยช่วยเหลือ
  8. การเก็บรักษา ทำความสะอาด
  9. การประเมินผลงานเด็ก
เทคนิควิธีการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

    การสอนศิลปะกับเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
  • เข้าถึง   ดูแลเอาใจใส่ เด็กทุกคนเท่าเทียมกันอย่างใกล้ชิด
  • เข้าใจ   ความสามารถ  ความแตกต่าง
  • ให้ความรัก   รักและเข้้าใจ สนับสนุน  ช่วยเหลือ
  • สร้างสรรค์บรรยากาศ  หลากหลายและสนุกสนาน
  • มีระเบียบวินัย มีข้อตกลงในการเรียน
  • ปลอดภัย   คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
    การสอนให้เด็กมีความริเริ่มสร้างสรรค์
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงาน
  • ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้
  • เรียนรู้การวางแผนงานและการแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมการแสดงออกหลากหลายรูปแบบ
  • เน้นการเรียนเป็นเล่น
  • สนับสนุน เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี

       กิจกรรมศิลปะในห้องเรียน จงสร้างสรรค์ครึ่งวงกลมให้เป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ



จากครึ่งวงกลม กลายมาเป็นครอบครัวตัวกลม ที่อาศัยอยู่บนบ้านต้นไม้ กลมๆ

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการเขียนแผนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. ให้ความสำคัญกับผลงานศิลปะของเด็กทุกๆคนเท่ากัน
  3. การปฏิบัติตัวเป็นคุณครูสอนศิลปะที่ดี
  4. การคิดกิจกรรมที่ดีๆและแปลกใหม่ให้เหมาะกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  5. ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การเชียนแผนการสอน การทดลองก่อนสอน  การเตรียมอุปกรณ์ ขั้นตอนการสอนต่างๆและการประเมินผลงานเด็ก  
  6. ครูต้องให้ความสำคัญกับทุกๆลายละเอียดของงานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  7. นำเรื่องบทบาทครูปฐมวัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต
  8. นำเทคนิคการจัดกิจกรรมศิลปะไปใช้ได้จริงในอนาคต
  9. นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนและคนที่ยังไม่รู้
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียบร้อย
  • ตั้งใจทำกิจกรรมศิลปะด้วยตนเองอย่างสวยงาม
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกระหว่างเรียน
ประเมินเพื่อน
  • แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างมุ่งมั่น
  • ทำผลงานศิลปะออกมาได้อย่างสวยงาม

ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์แต่งกายสุภาพ
  • เข้าสอนตรงต่อเวลาและปล่อยตรงเวลา
  • มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำทุกอาทิตย์
  • อธิบายในแต่ละหัวข้อการเรียนได้เข้าใจง่าย



วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



                                                                บันทึกอนุทิน

                           วิชา การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด

                 วัน/เดือน/ปี....20..มกราคม..2558..ครั้งที่...2..เวลาเรียน....15.00-17.30..... น

                                              

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
       การเรียนการสอนในวันนี้เรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายและความสำคัญ
   ศิลปะ   คือ.....    แต่เดิมเป็นงานฝีมือที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างขึ้นด้วยความประณีตเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและพากเพียร










 งานจิตรกรรม





งานประติมากรรม




 งานสถาปัตยกรรม
                     
ปรัชญาศิลปศึกษา

  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • น้นความไวในการรับรู้อารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
  • ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
  • สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
  • นำไปพัฒนาชีวิตด้านอื่นๆ

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
  • ชอบวาดรูป ขีดๆ เขียน
  • เด็กมีความคิด จินตนาการ
  • เด็กถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งไม่อาจพูดหรืออธิบายได้
  • เด็กต้องการ การสนับสนุนของผู้ใหญ่
  • เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  • ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
  • ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
  • ช่วยส่งเสริม / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
       ทฤษฏีพัฒนาการ

-พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)

      ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์

- ทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด Guilford

- ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ Torrance

- ทฤษฏีความคิดสองลักษณะ

- ทฤษฏีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ Gardner

- ทฤษฏีโอตา Auto

พัฒนาการทางศิลปะ
พัฒนาการด้านร่างกาย

       กีเซลล์และคอร์บีน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก

ด้านการตัด

อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนเล็กได้

อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้

อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปต่างๆได้

                                     


การขีดเขียน

อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้

อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้

อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

การพับ

อายุ 3-4 ปี พับและพับสันกระดาษสองทบตามแบบได้

อายุ 4-5 ปี พับและพับสันกระดาษสามทบตามแบบได้

อายุ 5-6 ปี พับและพับสันกระดาษได้คล่องแคล่ว

การวาด

อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนได้

อายุ 4-5 ปี วาดส่วนประกอบต่างๆของคนได้

อายุ 5-6 ปี วาดเป็นมิติได้


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
  1. จากทฤษฎีนำหลักการและแนวคิดไปปรับใช้สำหรับการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยได้ 
  2. นำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยในอนาคต 
  3. เข้าใจธรรมชาติทางด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย 
  4. ชมเชยให้แรงเสริมกับผลงานทางศิลปะทุกชิ้นของเด็กปฐมวัย 
  5. ตอบสนองความต้องการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย 
  6. จัดกิจกรรมที่หลากหลายทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย 
  7. ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
  8. นำแนวคิดต่างๆไปคิดกิจกรรมการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลายและเหมาะสมกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก 

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  • แต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ 
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกขณะเรียน 
ประเมินเพื่อน
  • แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา 
  • ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตอบโต้กับอาจารย์ระหว่างเรียน 
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียนร้อย 
  • มีภาพศิลปะมาให้ดูหลากหลาย 
  • อยากให้อาจารย์อธิบายสั้นๆ เข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับนักทฤษฎี

                    
                              วัน/เดือน/ปี....22..มกราคม..2558.เวลาเรียน....15.00-16.40..... น

สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้


          กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้เป็นกิจกรรมการทำกิจกรรมศิลปะ "มือน้อยสร้าสรรค์"

"มือน้อยสร้าสรรค์"
   

          




          

   




การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. ใช้ในกิจกรรมศิลปะเพื่อให้เด็กมีสมาธิก่อนเรียน
  3. ใช้เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้เด็กสนุกสนานและตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ได้ทำ
  5. นำไปบรูณาการกับวิชาอื่นๆ
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายเรียบร้อย
  • ตั้งใจทำกิจกรรมศิลปะด้วยตนเองอย่างสวยงาม
ประเมินเพื่อน
  • แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างมุ่งมั่น
  • ทำผลงานศิลปะออกมาได้อย่างสวยงาม

ประเมินอาจารย์

  • มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำ
  • อธิบายงานศิลปะของนักศึกษาหลังจากจบกิจกรรมได้อย่างดี